พม.เน้นดึงศักยภาพผู้สูงวัย-คนพิการ ใช้กาย-สมองช่วยพัฒนาชาติ

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า ปี 2568 เป็นปีที่ พม.ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จะทำอย่างไรที่จะดึงศักยภาพทั้งผู้สูงอายุ คนพิการหรือแม้แต่เด็กและเยาวชนในการเป็นกำลังสำคัญนำพาประเทศไทยไปข้างหน้า เพราะผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยยังมีกำลังกายและกำลังสมองที่จะทำงานได้อีกมากมาย รวมถึงคนพิการ ซึ่งเมื่อเดือน พ.ย.2567 พม.ได้ลงนามความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อร่วมยกระดับและพัฒนาทักษะคนพิการผ่านมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อให้พี่น้องคนพิการได้ใช้ศักยภาพตนเองในการทำงานได้อย่างเต็มที่ และเป็นส่วนสำคัญในการแบ่งเบาภาระภาครัฐ อย่างไรก็ตาม การจะทำเช่นนี้ได้ทุกกรมของ พม.จะต้องทำงานอย่างหนัก แม้ที่ผ่านมาก็ทำงานหนักกันอยู่แล้ว รวมทั้งตนต้องการให้ พม.ขยายพื้นที่การทำงาน ไม่แค่ในประเทศ แต่รวมถึงมิติด้านต่างประเทศที่จะต้องสานต่อและขยายความร่วมมือมากขึ้นด้วย

นายวราวุธกล่าวด้วยว่า เรื่องภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นซึ่งส่งผลกระทบไม่น้อยโดยเฉพาะกับกลุ่มเปราะบางนั้น ถือเป็นอีกเรื่องหลักที่ พม.ยังต้องให้ความสำคัญ ซึ่งปี 2567 ได้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารการดูแลกลุ่มเปราะบางจากภัยพิบัติ (ศบปภ.) เพื่อขับเคลื่อนงานเชิงรุกในการให้ความช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบางจากภัยพิบัติ โดยปี 2568 ตั้งเป้าหมายที่จะขับเคลื่อน ศบปภ.ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยต้องมีข้อมูลเชิงลึก โดยเฉพาะการตรวจสอบภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆว่าเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติขึ้น เราจะต้องเข้าไปช่วยเหลือดูแลกลุ่มพิเศษในพื้นที่ไหนก่อนโดยทันที นอกจากนี้ ต้นปี 2568 พม.จะรวบรวมเรื่องร้องเรียนและขอความช่วยเหลือผ่านศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ทั้งใน กทม.และต่างจังหวัด เพื่อประมวลภาพสถานการณ์ของสังคมไทยว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากเป็นข้อมูลสะท้อนถึงสถานการณ์หลายด้านหลากมิติเพื่อนำไปสู่การหาแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาต่างๆต่อไป.

Share :

Scroll to Top
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.