กิจกรรมการทำซิลค์สกรีน ศูนย์ฝึกจังหวัดอุทัยธานี

 หลักการพิมพ์ “ซิลค์สกรีน” มีหลักการง่ายๆ คือ การปาดหมึกพิมพ์ ผ่านผ้าสกรีน ที่ยึดบนกรอบสื่เหลี่ยม ให้ลงไปติดกับวัสดุที่จะพิมพ์ หากต้องการให้หมึกผ่านผ้าสกรีนออกมาเป็นลวดลายใด ๆ ก็ทำให้รูผ้าเปิดหรือปิด ในส่วนที่ต้องการให้หมึกผ่านออกตามลวดลายนั้นๆมีวิธีการพิมพ์ได้ทั้งแบบการพิมพ์ด้วยมือ และ การพิมพ์ด้วยเครื่อง โดยทั่วไปนิยมการพิมพ์ด้วยมือ สำหรับการพิมพ์ในปริมาณไม่มากนัก การพิมพ์ด้วยเครื่อง สามารถพิมพ์สอดสีได้ประณีต สวยงามยิ่ง เพราะน้ำหนักของการปาดหมึกพิมพ์ สามารถปรับตั้ง และควบคุมได้ตลอดการพิมพ์ ซึ่งการพิมพ์ด้วยมือทำ ได้ยาก เทคนิคของการพิมพ์ จะต้องอาศัยการฝึกทักษะปฏิบัติการพิมพ์จริงจึงจะสามารถพิมพ์ได้ดี การพิมพ์โดยทั่วไป นิยมนำกรอบสกรีนที่ถ่ายแบบเสร็จแล้วไปติดกับโต๊ะพิมพ์ให้สามารถเปิดขึ้นลงได้ ทำฉากที่โต๊ะพิมพ์เพื่อใส่ชิ้นงานให้ได้ตรงตำแหน่งเดิมที่ต้องการ ฉีดสเปรย์กาวเหนียวที่โต๊ะพิมพ์ ใส่หมึกพิมพ์ใส่ชิ้นงาน แล้วเริ่มพิมพ์ เทคนิคใน การพิมพ์โดยละเอียด ต้องอาศัยการฝึกฝนจึงจะทำ ได้ดี อาจสอบถามจากผู้รู้ เพราะการพิมพ์ผ้า กระดาษ นามบัตรตัวนูน สติกเกอร์วงจรไฟฟ้า รูปลอก กำมะหยี่ ฯลฯ ซึ่งต่างก็มีเทคนิคที่แตกต่างกันไป

ภาพบรรยากาศกิจกรรมการทำซิลค์สกรีนของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการที่เข้าร่วมฝึกงานในโครงการฝึกงานมาตรา 35 หลักสูตรช่างตัดเย็บเสื้อผ้า 609 ชั่วโมง 6 เดือน สนับสนันโดย PTG บริษัทปิโตรเลียมไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ สมาคมคนพิการภาคตะวันออก ณ ศูนย์ฝึกอาชีพ สมาคมคนพิการจังหวัดอุทัยธานี

Share :

Scroll to Top
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.